ภาพรวมการทำงานของโปรแกรมซิมเล็กซ์
ระบบจะแสดงเมนูการควบคุมการผลิตและระบบบัญชีที่หน้าเมนูหลัก ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย เพราะระบบควบคุมการผลิตจะเป็นไปตามพื้นฐานของระบบการผลิต
และระบบบัญชีของซิมเล็กซ์จะเป็นระบบบัญชีพื้นฐานของประเทศไทยและอินโดนีเซีย
ผู้ใช้ทั้งไทยและญี่ปุ่นสามารถใช้งานได้ง่าย เนื่องจากระบบการทำงานของซิมเล็กซ์เป็นไปตามขั้นตอนพื้นฐานของการทำธุรกิจ
ขั้นตอนการทำงานของเมนูต่างๆ
ขั้นตอนพื้นฐานของการทำธุรกิจคือ ออกใบเสนอราคา→กรอกข้อมูลใบสั่งซื้อจากลูกค้า→ออกใบกำกับสินค้า→ส่งสินค้าออก→ออกใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลใบสั่งซ์้อจากลูกค้าและการออกใบกำกับภาษีจะต้องได้รับการอนุมัติก่อน
- คุณสามารถทำใบเสนอราคาได้ ถ้าสินค้าไม่มีอยู่ใน Item Master รายการจะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ หลังจากทำใบเสนอราคาเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถทำใบสั่งซื้อจากลูกค้าได้โดยดึงข้อมูลมาจากใบเสนอราคา
- หลังจากทำใบสั่งซื้อจากลูกค้าเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถป้อนข้อมูลการจัดส่งสินค้าและออกใบส่งของได้ คุณสามารถใส่จำนวนหรือดึงข้อมูลจากใบสั่งซื้อของลูกค้าได้
- คุณสามารถพิมพ์ใบแจ้งหนี้ตามใบส่งสินค้าได้
- คุณสามารถกรอกข้อมูลการจ่ายเงินล่วงหน้า Debit Note และ Credit Note ได้ Debit Note และ Credit Note จะเป็นตัวปรับราคาสินค้า
- การออกใบสั่งซื้อ ,ใบสั่งซื้อคงค้าง ,ใบส่งของ ,ตารางการส่งของรายสัปดาห์ และตารางการส่งของรายเดือน
- บัญชีลูกหนี้ (AR) รายงานบัญชีลูกหนี้ ,ประวัติการบันทึกบัญชีลูกหนี้ และรายละเอียดของลูกหนี้
- รายการขายทั้งหมดจะสามารถแบ่งได้ตามรายการสินค้าหรือชื่อลูกค้า
[ตัวอย่าง : ใบแจ้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ]
ขั้นตอนพื้นฐานคือ การออกใบสั่งซื้อ→อนุมัติใบสั่งซื้อ→รับของเข้าระบบ→ใบแจ้งหนี้→อนุมัติใบแจ้งหนี้
- โปรแกรมสามารถรองรับได้หลายสกุลเงิน ผู้ใช้สามารถกำหนดราคาและวันที่เริ่มใช้ราคานั้นๆได้ที่ Purchase Price Mater
- หลังจากออกใบสั่งซื้อเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถรับของเข้าระบบได้ทันที และระบบสามารถแบ่งแยกของเป็น Lot ได้
- คุณสามารถใส่ข้อมูลการรับ-จ่ายเงินล่วงหน้า ,Debit Note และ Credit Note ซึ่ง Debit Note และ Credit Note จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนราคาซื้อขายของสินค้า
- ระบบสามารถออกเอกสาร ใบสั่งซื้อ, รายงานสรุปใบสั่งซื้อ (ค้างรับ), รายงานสรุปใบสั่งซื้อที่ได้รับสินค้าแล้ว, รายงานสรุปยอดการรับสินค้าทั้งเดือน
- รายงานบัญชีเจ้าหนี้, รายงานประวัติการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้, รายงานสรุปรายละเอียดของเจ้าหนี้, การ์ดเจ้าหนี้
- เมื่อเกิดการอนุมัติใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์เรียบร้อยแล้ว ระบบจะสรุปยอดซื้อทั้งหมด สามารถเลือกดูประวัติสรุปเป็นรายการสั่งซื้อเฉพาะสินค้าหรือรายการสั่งซื้อเฉพาะของซัพพลายเออร์
[Purchase P/O]
การทำงานของระบบการผลิต เกิดขึ้นหลังการสั่งผลิต (Add Order) หรือ หลังการปล่อยคำสั่งการผลิต/คำสั่งซื้อวัตถุดิบ (MRP)→การบันทึกการเบิกวัตถุดิบ→การบันทึกผลการผลิต
- หลังจากที่ปล่อยคำสั่งผลิต/คำสั่งซื้อวัตถุดิบ (MRP) เรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถออกใบสั่งผลิต (การผลิตแบบ Order No. และการผลิตแบบ Production No.)
- นอกจากนี้ยังสามารถออกใบเบิกวัตถุดิบที่ต้องใช้ในขั้นตอนการผลิต และบันทึกผลเมื่อมีการเบิกวัตถุดิบออกไป
- เมื่อการผลิตในแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้น ให้บันทึกผลผลิตที่ผลิตได้ลงในช่อง Production Quantity, บันทึกของเสียลงในช่อง Scap Quantity, ใส่ Lot No. และบันทึกรายละเอียดอื่นๆ ของการผลิตลงในหน้า Production Result
- ข้อมูลที่บันทึกลงในหน้า Production Result จะถูกนำไปแสดงที่หน้า Production Lot Trace เพื่อดูผลการใช้วัตถุดิบ, งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้จริง
- ในส่วนระบบการผลิต สามารถออกเอกสาร ใบสั่งผลิต, รายงานสรุปรายการที่ยังไม่ผลิต, รายงานสรุปรายการที่ผลิตไปแล้ว
[ตัวอย่างเอกสาร : ใบสั่งงานผลิต]
ขั้นตอนพื้นฐาน ใบสั่งซื้อ→MPS (ระบบการวางแผนการผลิต)→MRP ( ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ)→ยืนยันการผลิต→สั่งผลิต
- คุณสามารถป้อนข้อมูลใบสั่งซื้ออย่างไม่เป็นทางการลงในโปรแกรม และทำการคำนวณ MPS จากใบสั่งซื้อนั้นๆได้ โดยโปรแกรมจะทำการบันทึกประวัติการทำ MPS ไว้ทั้งหมด
- การทำ MPS ปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสต็อกสินค้าและสามารถจำแนกได้ตามรายชื่อลูกค้าหรือประเภทใบสั่งซื้อ
- การทำ MRP จะดึงข้อมูลมาจาก MPS และจะคำนวณเวลาการผลิต ,วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และสรุปยอดรายวันได้
- ในการทำ MRP คุณสามารถจำลองการทำ MRP ได้จากใบสั่งซ์้อของลูกค้าและสามารถหาจำนวนสินค้าคงเหลือได้เช่นกัน
- ในการผลิตคุณสามารถเลือกผลิตได้ทั้งแบบ Production Control คือผลิตเฉพาะส่วนที่ต้องการผลิต และการผลิตแบบ MRP คือผลิตทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้
[Hybrid MRP Function]
หมายเหตุ : ระบบบัญชีไม่สามารถอัพเดทข้อมูลสินค้าคงเหลือได้ทันที ระบบบัญชีจะดึงข้อมูลจาก การทำ Inventory และ การทำ Receive / Issue
ขั้นตอนพื้นฐาน ระบบคลังสินค้า→การรับเข้า-ส่งออก, การเคลื่อนย้ายสินค้า, ประวัติการรับเข้า-ส่งออกสินค้า ระบบจะอัพเดทข้อมูลทันทีเหมือนมีความเคลื่อนไหวของสินค้า
- ระบบสินค้าคงคลังจะแสดงตามโลเคชั่นหรือรายการสินค้า สามารถควบคุมสินค้าได้ตามโลเคชั่นหรือ Lot No.
- ระบบควบคุมคลังสินค้าจะเป็นจุดตั้งต้นให้ระบบบัญชี
- คุณสามารถควบคุณสินค้าตาม Lot No. ได้ที่เมนู Receive / Issue Entry, Stock Movement และ Stock Transfer
- Stock Card จะถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลที่หน้า Receive / Issue และสามารถคำนวณได้ทั้งแบบ FIFO ,LIFO และแบบเฉลี่ย
[ตัวอย่าง : รายงาน Stock Card]
ขั้นตอนพื้นฐาน การรับสินค้า→นำสินค้าเข้าคลังสินค้า→จัดเตรียมสินค้าเผื่อส่งออก→ส่งออกสินค้า ที่เมนู Monthly Process สามารถพิมพ์เอกสาร Monthly Stock Charge Report และ Loading / Staffing Report ได้
- ในขั้นตอนการทำ Receive และขั้นตอน Stock-In คุณสามารถป้อนข้อมูลจำนวน ,Lot No. และวันหมดอายุได้
- ในขั้นตอนการทำ Picking และขั้นตอน Delivery คุณสามารถป้อนข้อมูลจำนวน และ Lot No. ได้
- ในการทำ Monthly Process ระบบจะคำนวณทั้งราคาต่อหน่วย ค่าบริการ Loading / Staffing และสามารถปริ้นข้อมูลต่างๆ
ระบบบัญชีของซิมเล็กซ์มีเมนูบัญชีรายรับ, บัญชีรายจ่าย, รายการธนาคาร, สินทรัพย์ภาวร, รายการเรียกคืน, รายการลูกหนี้, รายการเจ้าหนี้, Debit Note, Credit Note , รายการ Voucher และรายงานต่างๆ
ระบบัญชีของซิมเล็กซ์เป็นระบบบัญชีพื้นฐานของประเทศไทยและอินโดนีเซีย และมีรายงานภาษีอากร·เอกสารภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ที่เมนู Voucher Entry สามารถป้อนข้อมูล Debit และ Credit ได้และสามารถใช้สกุลเงินได้หลายสกุลเงิน
รายงาน Voucher ประกอบด้วย Journal Voucher, AR Voucher, RV Voucher, AP Voucher, PV Voucher และรายงานอื่นๆ - ที่เมนู Received Voucher คุณสามารถป้อนข้อมูลลูกหนี้และรายรับได้ และที่เมนู Payment Voucher คุณสามารถป้อนข้อมูลเจ้าหนี้และรายจ่ายได้ และโปรแกรมยังสามารถป้อนข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้
- ที่เมนู Bank Process สามารถป้อนข้อมูลรายรับรายจ่ายได้ทั้งในรูปแบบเงินสดและเช็ค
- ประเทศไทยการควบคุมสินทรัพย์มีความสำคัญมาก โปรแกรมซิมเล็กซ์มีการควบคุมแบบ Straight Line และ Declining Balance
ที่เมนู Monthly Process โปรแกรมจะสร้างรายการสินทรัพย์ถาวรโดยอัตโนมัติ และจะคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ขอแต่ละเดือนทันที - เมนู Recurring Process ใช้สำหรับการจ่ายเงินล่วงหน้า และข้อมูล Recurring จะถูกสร้างขึ้นที่หน้าเมนู Monthly Process เช่นกัน
- คุณสามารถตั้งชื่อบัญชีถึง 3 ภาษา ( อังกฤษ, ไทย, ญี่ปุ่น) คุณสามารถออกเอกสารต่างๆเป็นภาษาที่คุณเลือกใช้ได้ และสามารถพิมพ์รายงานสำหรับสำนักงานภาษีของประเทศไทยได้
[ตัวอย่าง : งบดุล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ๕๐ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)]
การนำเข้าและส่งออกข้อมูลโดยโปรแกรม Excel (CSV)
คุณสามารถนำเข้าหรือส่งออกข้อมูลของแต่ละ Master หรือ ข้อมูลต่างๆ ผ่านโปรแกรม Excel หรือ CSV ไฟล์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น
- ที่เมนู Import Process คุณสามารถนำเข้า/ส่งออกได้ครั้งละหลายๆ Master
- สามารถเลือกได้ว่าจะอัพเดทเพิ่มจากข้อมูลเดิมหรือวางทับข้อมูลเดิม
- คุณสามารถนำข้อมูลที่แสดงอยู่ออกมาเป็นไฟล์ Excel หรือไฟล์ CSV ได้
การออกเอกสาร (Report)
โปรแกรมสามารถออกเอกสารต่างๆในรูปแบบ Excel และคุณสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามต้องการ